วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ก่อนประว้ติศาสตร์ควรค่าแก่การศึกษาของไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง มรดกโลกของไทย ที่น่าศึกษา

ผมโอ ระยอง ได้มาเที่ยว แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง รู้สึกประทับใจมาก จึงถ่ายรูป นำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้รับชมกัน หวังว่าซักวันเพื่อนๆที่ไม่เคยไป จะได้ไป เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ไทยช่วยไทย ไทยเจริญ ขอเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียง ในการ พาท่านท่องเที่ยว





 เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่งที่ทำให้เราได้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปีโดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา ในการดำรงชีพ ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี ของมนุษย์ ยุคโบราณองค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงของไทยไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลกแล้ว วันนี้ผมนำเฉพาะ หม้อ ไห แจกันเครื่องปั้นดินเผามาให้ชมกัน ขอให้ทุกท่านมีความสุขนะครับ จากผม โอ ระยอง พาเที่ยวทั่วไทย ไปกับ โอ ระยอง
ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา
แบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่
  1. ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็กด้วย 
  2. ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดงแล้ว
  3. ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน
  4. สำริด

ชาวบ้านเชียงโบราณนิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก ก่อนที่จะรู้จักใช้เหล็ก ชาวโพลีนีเซียมีหลักฐานว่านิยมใช้สำริดเช่นกัน ใช้ทำเป็นกลองมโหระทึก




มรดกโลก บ้านเชียง อุดรธานี

 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก น่าภาคภูมิใจมากที่เรามี

การเดินทาง

การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง สามารถขับรถตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
แผนที่จังหวัด อุดรธานี  Map of Udon Thani  Thailand.









ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง อุดรธานี
บ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประเภทแหล่งอนุสรณ์สถานจัดตั้งขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 13 ตำบล บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียงได้จัดแสดงหลักฐานที่ ได้จากการสำรวจขุด ค้น ที่บ้านเชียง และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง อันประกอบด้วยกลุ่มภาชนะดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย
จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มาจากการพบภาชนะลายเขียนสี เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยชาวบ้านเชียง ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ชาวอเมริกัน ได้พบภาชนะดินเผาที่บ้านเชียงโดยบังเอิญจึงนำไปแจ้งที่กรมศิลปากร ปีพ.ศ. 2510 จึงได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกปี พ.ศ.2515 ได้ขุดค้นเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีในพร้อมกับแหล่งอื่นในบ้านเชียง และครั้งสุดท้ายปีพ.ศ. 2517-2518 กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ร่วมมือขุดค้นและหาข้อมูลใหม่เพิ่มเติม โดยเรียกโครงการนี้ว่า " โครงการ โบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งชาติ บ้านเชียง จึงได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2524 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับกรมศิลปากร ได้ของบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มาสร้างอาคารหลังแรก แต่เนื่องจาก สภาพพื้นที่ยังเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน นายมีชัย ฤชพันธุ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอเงินงบประมาณในโครงการเงิน กสช. มาปรับปรุงพื้นที่ให้สวยงาม และพรรคชาติไทยยังได้บริจาคต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับให้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียง ด้วยเช่นกัน
พ.ศ. 2525 ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ของบประมาณสร้างอาคารหลังที่ 2 จากมูลนิธิ จอร์น เอฟ เคเนดี แห่งประเทศไทย และกรมศิลปากรได้มีงบประมาณสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 6,100,000 บาท เนื่องจากในวโรกาสสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุ 84 พรรษา กรมศิลปากร ได้กราบบังคมทูลพระบรมราชานุญาตใช้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า "อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ทรงเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ในวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2530
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ปัจจุบันมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 25 ไร่ คือ บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง หลุมขุดค้นทางโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน และบ้านไทพาน ด้วยเหตุผลที่คนบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีหลักฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนยุคนั้น ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เป็นอย่างดี คณะกรรมการมรดกโลกได้ร่วมกันตกลงยอมรับให้ขึ้นบัญชี " แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง "ไว้เป็นแหล่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก เป็นอันดับที่ 4 ขอประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 359 ของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2535





ประวัติเครื่องปั้นดินเผาโดยภาพรวม
เครื่องปั้นดินเผา มีความผูกพันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์ได้ใช้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิต ประจำวัน บรรจุอาหารและสิ่งของ ฉะนั้นจึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้น และปรับปรุงเทคโนโลยีต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จากการสำรวจแหล่งโบราณ คดีในประเทศไทย พบว่านับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 เป็นต้นมา ในพื้นที่ของราชอาณาจักรไทยได้ปรากฏแหล่งเตาเผาตั้งกระจัดกระจายอยู่มากมายหลายแห่ง รวมทั้งได้มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวน มากมายหลายชนิดทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาในราชอาณาจักรไทยและ ที่ผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศ ซึ่งได้ถูกนำมาเพื่อใช้สอยและจำหน่าย ให้กับกลุ่มชนบางกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกผลิตและตกแต่งด้วย เทคนิคและลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่างใน แต่ละท้องถิ่นหรือตามสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละชุมชน ซึ่ง บางแห่งอาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยต่อการผลิตเครื่องปั้น ดินเผา นอกจากนี้ จากการที่ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกันหรือมีการ ทำการค้าร่วมกัน จึงทำให้อิทธิพลต่าง ๆ สามารถส่งผ่านไปยังอีกชุมชน หนึ่งได้อย่างง่ายดายก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะและเทคโนโลยี ซึ่งกันและกัน ต่อมาจึงมีพัฒนาการของตนเอง ที่แตกต่างออกไปชุมชนบางแห่งก็อาจ มีพัฒนาการทางการผลิตที่เป็นของตนเอง โดยมิได้รับอิทธิพลจากภายนอก ซึ่งในระยะแรกจะผลิตขึ้น เพื่อใช้ในกลุ่มชนของตนเองก่อนต่อมาจึงสามารถ พัฒนาจนกลายเป็น อุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ และมีการส่งไปจำหน่ายเป็นสินค้า ออกให้แก่ชุมชนใกล้เคียง



เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง อุดรธานี (อายุประมาณ 5,600 - 1,800 ปี ก่อนประวัติศาสตร์
แบ่งออกเป็น3ยุคสมัย
1.สมัยต้น (อายุประมาณ 5,600 - 3,000 ปี)
เป็นภาชนะดินเผาสีดำ ตกแต่งด้วยลายขูดขีดและลายเชือกทาบ รูปทรงมักเป็น หม้อก้นกลม ปากผายกว้างเชิงสูง มีทั้งชนิดปลาย สอบเข้าและผายออก 
2.สมัยกลาง (อายุประมาณ 3,000 - 2,300 ปี)

  ภาชนะส่วนใหญ่มีเนื้อดินสีขาวนวล ไหล่ลู่ ลำตัวกลมและหักเป็นสัน ก้นภาชนะ มีทั้งกลมและแหลม มักไม่มีการตกแต่งลวดลาย แต่บางชิ้นมีการตกแต่งด้วยลายขูดขีด และเขียนลวดลายสีแดงที่บริเวณไหล่ของภาชนะ 
3.สมัยปลาย (อายุประมาณ 2,300 - 1,800 ปี)

รูปทรงของภาชนะมีทั้งชนิดก้นกลมและชนิด มีเชิงสูง ปลายผาย ขอบปากมีสัน มีการตกแต่งด้วยการเขียนลวดลายสีแดง สีที่ใช้เขียนเรียกว่า "สีดินเทศ" ลวดลาย ที่เขียนส่วนใหญ่เป็น ลายเรขาคณิต ลายสี่เหลี่ยม ลายวงกลม ลายก้านขด ลายก้นหอย





สภาพทางภูมิศาสตร์ บ้านเชียง อุดรธานี


ตำบลเชียงเครือตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสกลนครระยะห่างจากอำเภอเมืองประมาณ16


กม.เนื้อที่ 93  ตร.กม. จำนวนหมู่บ้าน 17 หมู่บ้าน ส่วนในเขตบ้านเชียงเครือนั้นแบ่งออกเป็น 


2  หมู่ คือ หมู่ 1 และหมู่ 14

ทิศเหนือ           จรด      บ้านโคกสว่าง

ทิศใต้               จรด       ห้วยลากและบริเวณที่นาบ้านดอนเชียงคูณ

ทิศตะวันออก   จรด       บ้านดอนเชียงบาลน้อย และ บ้านดอนเชียงบาลใหญ่

ทิศตะวันตก     จรด        บ้านหนองหอย

   ลักษณะทางกายภาพเป็นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงอีกทั้งสภาพของดินเป็นดินลูกรังไม่เหมาะแก่การ


เพาะปลูกแต่ก็ยังพบการปลูกข้าว

  เส้นทางคมนาคม อยู่ติดถนนหลวง A12 ถนนสาย สกลนคร นครพนม ก่อนถึงมหาวิทยาลัย


เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร 


































วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
      บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งค้นพบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะเมื่อราว5,000 กว่าปีมาแล้วมีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมาแต่โบราณชาวบ้านเชียงโบราณเป็นชุมชนยุคโลหะที่รู้จักทำการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ นิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก และรู้จักใช้เหล็กในระยะต่อมาแต่ก็ยังคงใช้สำริดควบคู่กันไปชาวบ้านเชียงรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะสีเทาทำเป็นลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และขัดมัน รู้จักทำภาชนะดินเผาลายเขียนสีรูปทรงและลวดลายต่าง ๆ มากมาย กรมศิลปากรได้ส่งเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบที่บ้านเชียงนี้ไปตรวจสอบคำนวนหาอายุโดยใช้วิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์(ThermoluminesCense)ที่ห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีอายุประมาณ 5,000-7,000 ปี
ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่พบที่บ้านเชียงนี้นับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าที่ค้นพบที่ประเทศสาธารณรัฐจีนจากความเห็นและการสันนิษฐานของนายชินอยู่ดี ภัณฑารักษ์พิเศษของกรมศิลปากรได้ให้ความเห็นว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชียอาคเนย์และอาจจะเก่าแก่ที่สุดในโลกก็เป็นได้ นอกจากนั้นชาวบ้านเชียงโบราณยังรู้จักทำเครื่องจักสาน ทอผ้า มีประเพณีการฝังศพฝังสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร รวมกับศพเป็นการอุทิศให้กับผู้ตาย สิ่งของที่เป็นโบราณวัตถุ ซึ่งได้จากการสำรวจรวบรวมและขุดค้นที่บ้านเชียงรวมแหล่งใกล้เคียง เช่น ขวาน ใบหอก มีด ภาชนะดินเผา ทั้งที่เขียนสีและไม่เขียนสี และดินเผา ลูกกลิ้งดินเผา แม่พิมพ์หินใช้หล่อเครื่องมือสำริดทำจากหินทราย เบ้าดินเผา รูปสัตว์ดินเผา ลูกปัดทำจากหินสี แก้วกำไล และแหวนสำริด ลูกกระสุนดินเผา ขวาน หินขัด และได้พบเศษผ้าที่ติดอยู่กับเครื่องมือสำริดแกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็กเป็นต้นชุมชนบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นชุมชนเกษตรกรรมยุคโลหะมีความเจริญก้าวหน้ามานานแล้วสามารถแบ่งลำดับขั้นวัฒนธรรมสังคมเกษตรกรรมที่บ้านเชียงออกเป็น6 สมัย โดยกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์วิธีคาร์บอน 14 ว่าวัฒนธรรมสมัยที่ 1 หรือชั้นดินล่างสุดของบ้านเชียงมีอายุประมาณ 5,600 ปีมาแล้ว จากการวิเคราะห์กระดูกสัตว์และเปลือกหอยทำให้มีความคิดว่าคนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงในระยะแรกได้เลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณป่าที่ถูกถางมีการเลี้ยงสัตว์ และล่าสัตว์ด้วยพอถึงสมัยที่ 4 เมื่อราว 3,600ปีมาแล้วรู้จักใช้เครื่องมือเหล็กเลี้ยงควายเพื่อช่วยในการทำนาในสมัยที่ 5 เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้วมีการทำภาชนะดินเผาลายเขียนสีลงลายและรูปทรงหลายแบบพอถึงสมัยที่ 6 จึงทำแต่ภาชนะดินเผาเคลือบสีแดงหรือเขียนสีบนพื้นสีแดงทำเครื่องประดับที่มีส่วนผสมของโลหะที่มีความวาวมากขึ้น กำหนดอายุได้ราว1,700 ปีมาแล้วจากการค้นพบแกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็กการค้นพบเครื่องมือสำริดแม่พิมพ์เครื่องมือสำริดเบ้าดินเผาทำให้สามารถกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงมีความเจริญก้าวหน้าสูงรู้จักการใช้โลหะกรรมหล่อหลอมสำริดและปลูกข้าวที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกไม่น้อยกว่า 5,000 ปีมาแล้ว มีความเจริญทางวัฒนธรรมไม่เท่าเทียมกันทั้งประเทศ กล่าวคือขณะที่พวกที่อาศัยอยู่ทางแควน้อยและแควใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ 3,700 ปี ใช้หินเป็นเครื่องมือและใช้หินกระดูกสัตว์และเปลือกหอยเป็นเครื่องประดับนั้นพวกที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมีความเจริญรุดหน้ากว่ารู้จักใช้สำริดมาทำเป็นเครื่องประดับและรู้จักใช้เหล็กทำเป็นเครื่องมือซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวข้างต้นตรงกับข้อสันนิษฐานของ
ศาสตราจารย์ดร.โซเฮล์ม(DR. W.G.SOLHEIM) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวายประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้ให้ความเห็นว่า...
ความเจริญทางวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าได้มีการใช้สำริดทำกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยก่อนแหล่งอื่นในโลกภาคตะวันออก คือประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตศักราช คือประมาณ 4,472 ปีมาแล้ว ใกล้ เคียงกับเวลาที่ใกล้ที่สุดที่อาจเป็นไปได้ ที่บ้านเชียง อุดรธานี ของประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น